วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฉนวนกันความร้อน PE

แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี / พียู โฟม





       แผ่นโฟมเคลือบฟอร์ยลดความร้อน ที่มีคุณสมบัติพิเศษป้องกันความร้อน-เย็น รั่วซึม และลดเสียงดังทนต่อสภาพอากาศ และความชื้น ได้เป็นอย่างดีด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันความร้อนทนทานต่อสารเคมีแผ่น ฉนวนกันความร้อนพีอี PE ชนิดแผ่น (Sheet) ที่มีลักษณะเป็นโฟมเหนียวนุ่มมีแผ่นฟอยล์บางๆ หุ้มเคลือบ อยู่บนผิวอีกชั้นหนึ่ง ตัววัสดุโฟมจะมี คุณสมบัติ ต้านทานความร้อน ส่วนแผ่นฟอยล์ จะสามารถช่วย สะท้อน ความร้อน และปกป้องแผ่นโฟมแผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี PE ทำมาจากโพลีเอทิลีน (Poly Etylene) เป็นโพลิเมอร์ที่นำมาใช้งานมากที่สุดราคาถูก จัดเป็นพวกพลาสติกจึงมีน้ำหนัก เบา เหนียวและทนต่อแรงกระแทกได้ดี แผ่นฉนวนกันPE ทนทานต่อการกัดกร่อน ต้านทาน สารที่เป็นกรด แอลกอฮอล์จึงเหมาะสมกับ การใช้ ในโรงงานเคมี ที่มีไอระเหยของกรด(Acid Vapour)แผ่นฉนวน PE จึงช่วยปกป้อง แผ่นเมทัลชีท จากอันตรายจากการกัดกร่อน แผ่นฉนวนกันความร้อน PE ช่วยป้องการส่งผ่านความร้อน (Heat Transfer)จากภายนอกอาคารสู่ภายในอาคาร




คุณสมบัติ: ฉนวนกันความร้อนชนิดแผ่น( โฟมแผ่น ) 

คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(9).jpg ผลิตภัณฑ์ประเภท PE ผลิตจากโพลีเอธิลีนโฟม (LDPE Foam) ปลอดภัยไม่เป็นพิษ
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(10).jpg เหนียวแน่น ทนทานสูง เนื่องจากเป็นโฟมที่มีโครงสร้างของเซลล์แบบปิด(Close Cell) ที่สมบูรณ์แบบ จึงมีการเกาะเกี่ยวกันอย่างสมบูรณ์มั่นคง จึงทำให้น้ำ ไอน้ำและความชื้น ไม่สามารถทะลุผ่านได้
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(11).jpg ไม่มีควันพิษเมื่อเกิดลุกไหม้ การลามไฟ Class HF-1
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(12).jpg น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง เข้ารูปได้ดี
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(13).jpg ติดตั้งง่าย จึงช่วยให้ประหยัดโครงสร้าง ประหยัดค่าแรง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานหลังคาเหล็ก หรือเมทัลชีท
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(14).jpg ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) อายุการใช้งานยาวนาน คงความเป็นฉนวนถาวร
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(15).jpg ไม่ดูดซับน้ำ ต้านทานการซึมผ่านไอน้ำสูง
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(16).jpg สามารถทนกรดและด่างได้ดีเยี่ยม
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(17).jpg ต้านทานความร้อนได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมีค่าการนำความร้อนต่ำ
คำอธิบาย: http://www.ckbplatesteel.com/image/mypic_customize/bullet(18).jpg ไม่ใช้สาร CFC ในขบวนการผลิต ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำกลับมา Recycle ใหม่ได้ 



ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com

หลังคาเมทัลชีท

แผ่นหลังคาและผนังเมทัลชีท (Metal Sheet Roof / Wall)



       เป็นแผ่นเหล็กคุณภาพสูง High Tensile Steel รีดเป็นลอนด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย เคลือบเหล็ก Aluzinc ป้องกันสนิม มีอายุ
การใช้งานยาวนาน ทันสมัย ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็น แผ่นหลังคาที่ทนทานตรงตามมาตรฐาน "Blue Scope Steel"
แผ่นเมทัลชีทเคลือบอลูซิงค์ ( Aluzinc Metal Sheet) หรือ แผ่นหลังคาเหล็ก รีดลอนอลูซิงค์ (Aluzince Corrugated Metal sheet Roof) นี้สามารถนำมาใช้เป็น แผ่นหลังคา เป็นแผ่นฝ้า แผ่นผนังเหล็ก กันสาด รั้ว และ ใช้ได้ทั้งกับ แปเหล็ก และ แปไม้ ผสมผสาน เข้ากับงานโครงสร้างไม้ งานโครงสร้างคอนกรีต ได้เป็นอย่างดี แผ่นเหล็กอลูซิงค์เป็นแผ่นเหล็กที่ เคลือบ อลูมิเนียมและสังกะสี ซึ่งป้องกันสนิมได้ดีกว่า แผ่นเมทัลชีทที่เคลือบสังกะสีอย่างเดียวถึง 4-5 เท่า
แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet, Siding, Flashing, Louvre) สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในงานก่อสร้าง ที่พบบ่อยที่สุดก็คือ รอยแตกร้าว รั่วซึมของ กระเบื้องหลังคา  ทำให้ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมสูง หลังคาเหล็ก คือ คำตอบของผู้ ที่มองหาวัสดุหลังคา ที่มีความ เหนียวทนทาน ป้องกันความร้อนได้ดี น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและราคาไม่แพง แผ่นหลังคาเมทัลชีทจึงเป็น ทางเลือกใหม่ ใช้แทนวัสดุมุงหลังคาอื่นๆ เป็นต้นว่า แผ่นสังกะสี((Zinc) แผ่นโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) และ แผ่นกระเบื้องหลังคา แบบเดิม (Ceramic Roof Tile)



ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

 กันสนิมและมีความแข็งแรงได้ดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังเคลือบด้วยสีอบคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานและความสวยงามอีกด้วย
ข้อดี
1.       มีความแข็งแรง และน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว
2.     มีความคงทน กันสนิมได้ดีกว่าเหล็กชุบทั่วไปมากกว่า 4 เท่า และอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี
3.       มีให้เลือกได้หลากหลายสีสัน และความหนา
4.       มีคุณสมบัติลดความร้อน และกันเสียงได้ดี
5.   สามารถกำหนดความยาแผ่น ไม่มีรอยต่อ ประหยัดโครงสร้างได้มากกว่า 25-30 % ราคาย่อมเยา เนื่องจากเราซื้อเหล็กจากผู้ผลิตโดยตรง



คุณลักษณะ ของ แผ่นหลังคาเมทัลชีท(Metal Sheet)

1.       แผ่นเมทัลชีทของเราผลิตจากเหล็ก ทั้งในประเทศ-บลูสโคป (BlueScope)และนอกประเทศ เช่น ดองบู(Dongbu) ให้เลือก
2.       แผ่นเมทัลชีทผลิตจากเหล็กคุณภาพ ที่แข็งเป็นพิเศษ มีค่าความแข็ง G550
3.       แผ่นเมทัลชีทเป็นแผ่นเหล็กรีดลอนเคลือบอลูซิงค์  (Aluzinc)ซึ่งเป็นการชุบเคลือบชุบทั้งอลูมิเนียมและสังกะสี
4.        แผ่นหลังคามีความหนา ชั้นเคลือบอลูซิงค์ AZ50 AZ70  และ AZ150
5.       ความหนาของแผ่นเหล็ก มีตั้งแต่ 0.25, 0.28, 0.300.33, 0.35, 0.40, 0.47, 0.5 มิลลิเมตร(มม.) เป็นต้น
6.       ความกว้างของแผ่นหลังคาเหล็ก หลังหักซ้อนทับแล้วมีค่า  0.75 เมตร และ 0.76 เมตร ขึ้นกับชนิดของลอน
7.       มี ลอนนิยม ลอนมาตรฐาน ลอนคู่ ลอนสเปน และอื่นๆ
8.       สามารถสั่งตัด แผ่นหลังคาเมทัลชีท ตามความยาวที่ต้องการได้

9.       สามารถสั่งดัดโค้ง (Crimped Metal  Sheet) แผ่นหลังคาเมทัลชีท ตามความต้องการได้



ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com

ประตูม้วน

ประตูม้วนโดยทั่วไปตามท้องตลาด มี 3 ระบบหลักๆได้แก่

1. ระบบสปริงมือดึง 


       เป็นระบบที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยกำลังคน ความกว้างของประตูไม่ควรเกิน 4 เมตร และความสูงก็ไม่ควรเกิน 4 เมตรด้วยเช่นกัน น้ำหนักของประตูเฉลี่ยไม่ควรเกิน 120 กิโลกรัม ถ้าต้องการความกว้างที่มากกว่า 4 เมตร ควรแบ่งประตูออกเป็นช่วงๆและเสริมเสากลาง โดยแต่ละช่วงกว้างไม่เกิน 4 เมตรเช่นเดียวกัน หรือใช้เป็นระบบอื่นที่มีความเหมาะสมมากกว่า เช่นระบบมอเตอร์หรือรอกโซ่




2. ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า 


       
       เป็นระบบที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้สามารถรองรับประตูที่มีขนาดใหญ่ได้ โดยรับน้ำหนักได้สูงถึง 2,000 กิโลกรัม มีขนาดความกว้างในช่วง 3-15 เมตร ขึ้นอยู่กับมอเตอร์ที่ใช้ โดยปกติประตูระบบนี้จะมีรอกโซ่ฉุกเฉินที่ควบคุมด้วยมือไว้ใช้เปิดปิดแทนได้ กรณีที่ระบบไฟฟ้าขัดข้อง (แต่ต้องมีประตูอื่นไว้เผื่อสำรองด้วย) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับรีโมทคอนโทรล เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น



3. ระบบรอกโซ่ 



       เป็นระบบที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยกำลังคนเช่นเดียวกับแบบระบบสปริงแต่ว่า สามารถรองรับประตูที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบสปริง โดยขนาดของประตูกว้างไม่เกิน 7 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร น้ำหนักไม่ควรเกิน 700 กิโลกรัม ที่รับน้ำหนักได้มากกว่าเนื่องจากระบบนี้ใช้ระบบรอกในการช่วยทดน้ำหนัก แต่ว่าประตูแบบรอกโซ่นี้สามารถเปิดปิดได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น (ฝั่งที่มีโซ่อยู่) ดังนั้นจึงต้องมีประตูที่เป็นทางออกอยู่อีกทางหนึ่งเพื่อไว้เป็นทางออกหลัง จากปิดประตูม้วนหรืออาจทำเป็นประตูเล็กประกอบอยู่ในประตูม้วนก็ได้



ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com




เหล็กรูปพรรณ คือ?


โครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อน

       เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel) มีการใช้งานในต่างประเทศอย่างกว้างขวางมานาน และกำลังมีบทบาทมากขึ้นในการก่อสร้างในประเทศไทย เนื่องจากข้อดีหลายประการที่ทำให้การก่อสร้างด้วยเหล็กมีความรวดเร็ว คุ้มค่าต่อการใช้งาน เหล็กเหล่านี้มีหน้าตัดหลายประเภทและมีหลายเกรดหรือชั้นคุณภาพ วิศวกรหลายท่านอาจรู้จักเหล็กชนิดนี้ในชื่อ เหล็กเอชบีม หรือเหล็กไวด์แฟลงก์จากหนังสือที่อ้างอิงกับมาตรฐาน ASTM ของอเมริกา ส่วนในการซื้อขายในประเทศนั้นแต่ก่อนส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งใช้มาตรฐาน JIS และในระยะหลังจึงมีผู้ผลิตในประเทศและมีการกำหนดมาตรฐานในประเทศ เกรดเหล่านี้ เทียบกันได้อย่างไร มาดูรายละเอียดกันในบทความนี้



การใช้งานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
       หน้าตัดที่เป็นรูปทรงของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการรับแรงในแนวต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าโครงสร้างคอนกรีต เหมาะกับสำหรับใช้งานโครงสร้างชนิดต่างๆ เช่น โรงงาน อาคารสูง สนามกีฬา เสาส่งไฟฟ้า ตลอดจนบ้านพักอาศัย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีหน้าตัดเป็นรูปตัวเอช เรียกกันว่า H-beam มีปีกกว้าง(wide flange) เหมาะกับงานโครงสร้างคาน เสาและโครงหลังคา, ส่วนหน้าตัดรูปตัวไอ หรือ I-beam ปีกเหล็กจะหนาขึ้นที่โคนปีก จึงรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะกับงานเครื่องจักร รางเครน สำหรับเหล็กฉากหรือ angle มีหน้าตัดรูปตัว L ใช้งานโครงสร้างหลังคา เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาวิทยุ เสาโทรศัพท์ อีกหน้าตัดหนึ่ง คือ รางน้ำ หรือ Channel มีหน้าตัดรูปตัว C นิยมใช้ทำคานรองรับส่วนประกอบต่างๆ เช่น บันได คานขอบนอก นอกจากนั้น เอชบีมที่นำมาตัดแบ่งตามยาว เรียกว่า Cut beam หรือ Cut-T ใช้ทำโครงสร้างของ Truss แทนการใช้เหล็กฉากเชื่อมประกบกัน


ข้อดีของการใช้เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้เร็ว
  • เตรียมงานจากโรงงานได้  และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
  • ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้างกว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
  • ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลาย เช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่นได้มาก
  • โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
  • ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
  • มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
  • ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะผุ่น
  • ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
  • สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้  100%


การผลิตโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
          การผลิตเหล็กโครงสร้างขนาดใหญ่ในประเทศ เริ่มเมื่อประมาณสิบกว่าปีมานี้ เดิมทีผู้ใช้งานในประเทศต้องสั่งเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนจากต่างประเทศส่วนใหญ่เกรดที่นำเข้า  ได้แก่JIS      ของญี่ปุ่นและASTM ของอเมริกา ต่อมาเมื่อมีการตั้งโรงงานในประเทศไทยจึงสามารถผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งออกตามมาตรฐานต่างประเทศ  ในขณะเดียวกันสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐาน  มอก.1227-2539  สำหรับใช้งานในประเทศ  โดยอ้างอิงหน้าตัด ขนาดและเกรดหรือชั้นคุณภาพ จากมาตรฐานของญี่ปุ่น  และเนื่องจากเหล็กโครงสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน จึงได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่าย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว

กระบวนการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เริ่มจากการนำเศษเหล็กมาหลอมในเบ้าขนาดใหญ่ด้วยความร้อนสูงกว่า 1600 °C จนกลายเป็นน้ำเหล็ก แล้วเติมโลหะปรุงแต่งส่วนผสมเพื่อให้มีความแข็งแรงตามเกรดที่ต้องการ เมื่อปรุงแต่งส่วนผสมแล้ว จึงนำมาหล่อให้เป็นแท่ง หลังจากนั้น นำเหล็กแท่งมารีดด้วยแท่นรีดขนาดใหญ่ ที่อุณหภูมิประมาณ 1200 °C รูปร่างหน้าตัดของเหล็กแท่งจะถูกลดขนาดและแปรเปลี่ยนไปตามแบบของลูกรีดจนมีขนาดมาตรฐาน จุดสำคัญในการทำคือ การควบคุมส่วนประกอบทางเคมีของการหลอมแต่ละเบ้า (Heat) การรีดเหล็กร้อนให้เป็นรูปร่างที่มีความกว้างและความหนาให้พอดีตามที่กำหนด และการทดสอบความแข็งแรง

เนื่องจากผลิตโดยการหลอมและรีดร้อนขึ้นเป็นท่อน เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ  ดังนั้น คุณสมบัติของหน้าตัดจึงสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่นเช่น      เหล็กรูปพรรณกลวงซึ่งทำจากเหล็กม้วนและเชื่อมตามยาว กับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบที่ทำจากเหล็กแผ่นสามชิ้นเชื่อมเข้าด้วยกัน



เกรดหรือชั้นคุณภาพ
        เกรดของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เป็นตัวระบุความแข็งแรงของเนื้อเหล็ก เหล็กที่ใช้งานโครงสร้างมีความต้านแรงดึง (Tensile Strength) ในระดับ  400 N/mm2 ขึ้นไป เช่นASTM A36,JIS/TIS SS400, SM400  เป็นต้น
        วิศวกรบางท่านอาจคุ้นเคยกับเหล็ก ASTM A36 เนื่องจากมีในตำราออกแบบที่มีพื้นฐานจากต่างประเทศ  แต่ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาดจึงมักเกิดปัญหาในการใช้งาน  ดังนั้นการออกแบบในปัจจุบันจึงต้องใช้เหล็กตามมาตรฐาน  TIS 1227-2539  ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับเหล็กที่มีจำหน่ายในประเทศ
        ผู้ใช้สามารถทราบคุณสมบัติของเหล็กที่นำมาใช้งานได้จากเอกสาร Mill Certificate  ที่ออกโดยผู้ผลิตและที่ตัวเหล็กแต่ละท่อนมีสติ๊กเกอร์ระบุเกรด  Heat no. รวมทั้งชี้บ่งเกรดเป็นตัวนูนที่ผิวอย่างถาวรเพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบชั้นคุณภาพได้สำหรับงานที่ต้องการลดน้ำหนักของโครงสร้างเพื่อความสะดวกในระหว่างการก่อสร้างและเพิ่มพื้นที่การใช้อาคาร จะใช้เกรดสูงหรือ High-Strength  ซึ่งมีความต้านแรงดึงตั้งแต่  490N/mm2เช่นASTM A572,ASTM A992,JIS/TIS SM490, SM520เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีเกรดฉพาะงาน  เช่นโครงสร้างในทะเล  แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล ที่ต้องใช้เหล็กโครงสร้างเกรดสูงและมีความต้านแรงกระเทกที่อุณหภูมิต่ำมาก คือ -20 C, -40 °C  ซึ่งการผลิตและทดสอบก็จะเข้มงวดยิ่งขึ้น






ความแตกต่างของเกรด ss400  และ sm400
       ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ของ  บมจ.การบินไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้านหน้ามีช่วงระหว่างเสา (span) กว้างถึง  270  เมตร  รองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  Airbus  A380  ได้พร้อมกัน  3  ลำ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนที่วิศวกรนำไปออกแบบใช้งาน ส่วนใหญ่ใช้เหล็กที่มีความต้านแรงดึง  400 N/mm2 ซึ่งที่ความแข็งแรงระดับนี้  ตามมาตรฐานที่ใช้ในประเทศคือTIS 1227-2539  มี  2เกรด คือSS400 และเกรดSM400 ซึ่งแต่ละเกรดมีส่วนประกอบทางเคมี  และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  ดังตารางต่อไปนี้






เมื่อเปรียบเทียบในรายละเอียด จะเห็นชัดเจนว่าส่วนประกอบทางเคมีของเกรด SS400 ควบคุมเพียงค่า   P (Phosphorus),  และ S (Sulfur)  ซี่งหากมีปริมาณมากทำให้เหล็กเปราะ  และเกรดนี้ไม่ได้ควบคุมค่า Carbon  ซึ่งเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงของเหล็ก  แต่หากมีมากเกินไปทำให้เหล็กมีความเปราะเพิ่มขึ้น  ในขณะที่SM400 ควบคุมปริมาณ  Carbon, Silicon,  Manganese  ในระดับที่เหมาะสม  และมีธาตุ  Phosphorus,  Sulfur  ในระดับต่ำ  ทำให้เหล็กมีความเปราะต่ำ มีความเหนียวเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้คุณสมบัติทางกลด้านความยืด (Elongation)  และความทนต่อแรงกระแทก (Impact)  ดีขึ้น  ดังนั้นเกรด SS400  จึงใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปที่มีการตัด  เจาะรูขันน็อต  และเชื่อมได้แต่ควรควบคุมการให้ความร้อนก่อนและหลังการเชื่อม  ส่วนเกรด  SM400 มีคุณสมบัติต่างๆ ดีขึ้น  โอกาสแตกร้าวจากรอยเชื่อมต่ำลง  มีความเหนียว  และมีคุณสมบัติทนทานต่อแรงกระแทกที่อุณหภูมิ  0°C จึงเป็นเกรดที่เหมาะกับงานเชื่อม  งานเจาะรูขันน็อต  รวมถึงงานดัดโค้ง  ซึ่งโครงการส่วนใหญ่สามารถนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี


การระบุ Specification ของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
ในการระบุรายละเอียดของวัสดุในแบบก่อสร้างหรือรายการวัสดุสำหรับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน  เริ่มจากระบุมาตรฐานเกรดชนิดหน้าตัด เช่นH-beam  ต่อด้วยขนาดของหน้าตัด  นอกจากนี้ จะระบุความยาวที่ต้องการและปริมาณที่จะใช้เป็นหน่วยน้ำหนัก  ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนได้ถึงขนาด  H 900x300  มม.  และผลิตในเกรดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกรดของต่างประเทศเพื่อส่งออกและเกรดในประเทศ  ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานในประเทศใช้เกรด SM400 ของมาตรฐานTIS 1227-2539 ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานโครงสร้างเหล็กสำหรับอาคารทุกประเภท  เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เป็นวัสดุโครงสร้างที่นับวันจะนำไปใช้งานมากขึ้น  เนื่องจากการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรง  ความสวยงาม  และความรวดเร็ว  เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์สูงสุด



ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com

อ้างอิงจาก http://www.siamyamato.com


ความหมายของเหล็กเกรดต่างๆ



ความหมายของเหล็กเกรดต่างๆ

 เหล็ก SS400   คุณสมบัติ  เหล็กแผ่นรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างทั่วๆ ไป

 เหล็ก SKD11  คุณสมบัติ  ทำลูกรีดเกลียว ลูกรีดแป๊ป ใบมีดตัดเหล็กแม่พิมพ์ปั้มขึ้นรูป แม่พิมพ์กรรไกรแม่พิมพ์กระดาษ ทนแรงตึงสูง

 เหล็ก SKS3  คุณสมบัติ  เหล็กทำแม่พิมพ์งานเย็น พิมพ์ตัด โลหะแผ่นบางและกระดาษ มีความสามารถ
ในการชุบแข็งสูง ทนแรงเสียดสีได้ดี

• เหล็ก SKD61  คุณสมบัติ  เหล็กสำหรับทำแม่พิมพ์งานร้อน มีความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูงๆทนการสึกหรอดีมาก ทนแรงกระแทกสูง รักษาความแข็งแรงที่สูงได้ดี ใช้ทำแม่พิมพ์อัดขึ้นรูปโลหะได้ดี

• เหล็ก P20  คุณสมบัติเหล็กแม่พิมพ์พลาสติกคุณภาพสูง ขัดผิวขึ้นเงาได้ดีมาก  ทำงานง่าย ทนแรงดัน

• เหล็ก S45C  คุณสมบัติ  เหล็กคาร์บอนปานกลางเหมาะสำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โครงสร้างแม่พิมพ์   และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ชุบแข็งได้ง่าย ทนการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับทำชิ้นส่วนพื้นฐาน หรือโครงสร้างของแม่พิมพ์และงานทั่วๆ ไป

• เหล็ก S50C  คุณสมบัติ  เหล็กคาร์บอนปานกลางเหมาะสำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โครงสร้างแม่พิมพ์   และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ชุบแข็งได้ง่าย ทนการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับทำชิ้นส่วนพื้นฐาน หรือโครงสร้างของแม่พิมพ์และงานทั่วๆ ไป

• เหล็ก SCM440  คุณสมบัติ  เหล็กเครื่องมือมีคาร์บอนปานกลาง มีความเหนียว ทนแรงตึงสูง เหมาะสำหรับทำเครื่องมือ น๊อต สกรู เพลา ก้านสูบและชิ้นส่วนรถยนต์

• เหล็ก SCM415  คุณสมบัติ ทนแรงดึงสูง  มีความเหนียว เหล็กเครื่องมือ เหมาะที่จะเฟืองรอบจัด และงานที่ต้องการผิวที่แข็งเฉพาะผิว

• เหล็ก SCM439,SNCM439  คุณสมบัติ  เหล็กเครื่องมือทนแรงดึงสูง เหมาะสำหรับทำเพลาข้อเหวี่ยง เฟืองแกนพวงมาลัย เพลากลางรถยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีความเครียดสูง

• เหล็ก SK5   คุณสมบัติ  เหล็กคาร์บอนสูง ชุบแข็งได้ง่าย ทนทานการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง
มีคุณสมบัติเป็นสปริงสูง

• เหล็ก  SUP9 คุณสมบัติ ใช้สำหรับสปริงขึ้นรูปงานร้อน (Hot Format Spring) เช่นเหล็กแผ่นสปริง (Laminated Springs) เหล็กคอยล์ปริง และเหล็กแหนบสปริงที่ใช้ในรถยนต์

• เหล็ก EH400 คุณสมบัติเป็นเหล็กทนสึก



ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com

อ้างอิงจาก http://www.108twin.com

เหล็กคืออะไร

เหล็กคืออะไร?
Iron (Fe)
"เหล็ก" เป็นคำที่คนไทยทั่วไปนิยมใช้เรียกเหมารวมกันหมายถึง เหล็ก (iron) และ เหล็กกล้า (steel) ซึ่งในความเป็นจริงนั้น วัสดุทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกันหลายประการ อย่างไรก็ดี เหล็กเป็นวัสดุพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคตอีกนานแสนนาน 
เหล็ก (Iron) เป็นสิ่งที่มนุษย์เรารู้จักนำมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งในยุคแรกๆ มักจะเป็นการใช้ก้อนหินที่มีแร่เหล็ก (Fe) ปะปนอยู่ มาฝนให้แหลมคมเพื่อใช้ทำเป็นอาวุธในการต่อสู้และล่าสัตว์ ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้มากขึ้นก็รู้จักใช้กรรมวิธีการ "ถลุง" ด้วยการเผาให้แร่เหล็กหลอมเป็นของเหลวและกำจัดแร่อื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกไปทำให้ได้แร่เหล็กที่บริสุทธิ์มากขึ้น และคิดค้นผลิตให้เป็น "เหล็กกล้า" (Steel) หรือ "เหล็กกล้าคาร์บอน" (Carbon Steel) ด้วยการเพิ่มส่วนผสมด้วยธาตุคาร์บอน (C), แมงกานีส (Mn), ซิลิคอน (Si), และธาตุอื่นๆ อีกบางส่วน เพื่อปรับปรุงเหล็ก (Fe/iron) ให้มีคุณสมบัติโดยรวมดียิ่งขึ้น สามารถแปรเปลี่ยนรูปได้ตามที่ต้องการ มีความแข็งแรง, ยืดหยุ่น, ทนทานต่อแรงกระแทก, สามารถรับน้ำหนักได้มาก, ไม่ฉีกขาดหรือแตกหักง่าย แถมด้วยคุณสมบัติพิเศษคือสามารถรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100%
เมื่อมนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ได้เหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติต่างๆ ที่เราต้องการแล้ว ก็นิยมนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการหล่อให้เป็นรูปร่างต่างๆ เช่นดาบ, โล่, และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ในสมัยโบราณ ต่อมาก็เรียนรู้ที่จะแปรรูปเหล็กกล้าให้เป็นรูปร่างต่างๆ ด้วยการรีดให้เป็นแผ่น เพื่อให้สามารถนำไปพับ, ม้วน, เชื่อม, กระแทก, กด, หรือขึ้นรูปและอื่นๆ เพื่อให้ตรงตามความต้องการ
เนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบที่เราสามารถผลิตและแปรรูปเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้ที่หลากหลายของเรา มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างหลากหลายสำหรับรูปแบบต่างๆ อีกทั้งต้นทุนการผลิตเหล็กในแต่ละขั้นตอนก็สูง ทำให้ผู้ผลิตเหล็กแต่ละราย จะเลือกทำงานเฉพาะที่ตัวเองมีความรู้ความถนัดเท่านั้น ไม่มีใครสามารถผลิตสินค้าเหล็กได้ครบทุกรูปแบบ ทุกขั้นตอนได้
อุตสาหกรรมเหล็กจะเริ่มต้นด้วยการนำสินแร่เหล็กที่ขุดได้จากในเหมือง มาถลุงเป็น "หล็กขั้นต้น (Raw Steel Product)" เรียกว่า "เหล็กถลุง (Pig Iron)"และ "เหล็กพรุน (Sponge Iron)" ซึ่งนำมาใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการหลอม (อาจมีการนำเอาเศษเหล็ก หรือ Scrap มาหลอมรวมด้วยกัน) เพื่อผลิต"เหล็กขั้นกลาง (Semi-Finished Steel Products)" ได้ออกมาเป็น "เหล็กแท่งกลม (Billet)""เหล็กแท่งแบน (Slab)" หรือ "เหล็กแท่งใหญ่ (Bloom Beam)" ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นสินค้า "เหล็กขั้นปลาย (Finish Steel Products)" ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป ดังนี้
  • เหล็กแท่งยาว (Billet) เป็นผลิตภัณฑ์ทรงยาว เช่น เหล็กเส้น, ลวดเหล็ก เป็นต้น
  • เหล็กแท่งแบน (Slab) เป็นผลิตภัณฑ์ทรงแบบ เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็น
  • เหล็กแท่งใหญ่ (Bloom, Beam) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
  • เศษเหล็ก (Scrap) ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กหล่อขึ้นรูป
  • crudesteel

    เหล็กเส้น / เหล็กแผ่น
    • เหล็กเส้น เป็นเหล็กที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ เป็นหลัก ถ้าเป็นเหล็กเส้นขนาดเหล็กก็อาจนำมาพันเข้าด้วยกันหลายๆ เส้น 7-19 เส้น เพื่อให้สามารถยึดติดกับวัตถุขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากได้ดียิ่งขึ้น
    • เหล็กแผ่น เป็นเหล็กที่สามรถนำไปแปรรูปให้มีรูปร่างลักษณะต่างๆ ได้อย่างอิสระ ที่นิยมใช้ในการผลิตหรือสร้างสิ่งต่างๆ หลายอย่าง เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์, รถจักรยานยนต์, บรรจุภัณฑ์, และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น






การใช้ประโยชน์จากเหล็กแผ่นหรือการแปรรูปให้เป็นเหล็กรูปพรรณรูปร่างต่างๆ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้มีอยู่ 2 วิธีคือ การรีดร้อนสำหรับการผลิตเหล็กที่ไม่ต้องการสวยงามของผิวเนื้อเหล็กมากนัก เช่นการผลิตถังบรรจุแก๊ส, เครื่องยนต์, อุตสาหกรรมต่อเรือ, เหล็กโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ และการรีดเย็น ซึ่งเป็นการนำเหล็กแผ่นรีดร้อนมารีดซ้ำอีกครั้งที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้ได้เหล็กที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความยืดหยุ่นที่มากขึ้นและมีผิวเนื้อเหล็กที่เรียบเสมอกันตลอดทั้งชิ้น เช่น งานผลิตตัวถึงรถยนต์, ป้ายโฆษณา, และบรรจุภัณฑ์

ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com


อ้างอิงจาก http://united-conbuild.com/shapesteel-info