วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กระเบื้องโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส

กระเบื้องโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส

แผ่นใส โปร่งแสง ให้แสงธรรมชาติ
ถ้าหากว่าต้องการแสงสว่าง ภายในตัวอาคาร เราสามารถใช้แผ่นใสสกายไลท์ (Skylight) เป็น กระเบื้องโปร่งแสงแบบไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ติดบนหลังคาหรือผนังร่วมกับ แผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท เพื่อเพิ่มความสว่าง และความสวยให้ตัวอาคารได้ ถ้าหากว่าต้องการ ทั้งแสงและระบายอากาศ ก็อาจจะเลือกใช้ แผ่นบานเกล็ดที่เป็น กระเบื้องโปรงแสง หรือไฟเบอร์กลาสแทน
เพื่อให้สามารถที่จะ เลีอกใช้วัสดุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้งานที่สมบูรณ์แบบ ในงบประมาณที่ต่ำ นอกจากนี้อาจจะเลือกใช้แผ่นกันสาดโปร่งแสงดีไลท์(De-lite) ติดตามรอบตัวอาคาร เพื่อ กันแดดและช่วยให้ดูโปร่งสบายตา

ข้อดีของการติดตั้งแผ่นกระเบื้องโปร่งแสง
1.    ประหยัดค่าไฟฟ้า (Energy Saving)
2.    ได้ใช้แสงธรรมชาติ (Natural Light)
3.    แสงกระจายอย่างทั่วถึงภายในอาคาร(Evenly Diffuse Light into Building) แสงจะไม่ส่องลงมาที่พื้นเป็นจุด หรือ หย่อมๆ
4.    ลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวอาคาร (Reduces Heat Transmission Into Building)
5.    ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมตัวอาคาร (Saving Cost of Building Maintenance)
6.    เพิ่มความคุ้มค่าของการลงทุน (More Value for Money)
7.    ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุของการทำงานเนื่องจากแสงไม่เพียงพอ (Lower Work Accident Due to in Adequate Iluminance)
8.    เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระหว่างวันให้กับผู้ปฏิบัติงานใน อาคาร(Improve Day-Time Work Efficiency for  Staffs)
9.    มีใบรับประกันเชื่อถือได้ (Reliable Warranty)

วิธีการติดตั้งแผ่นกระเบื้องโปร่งแสง
ควรติดตั้งแผ่นเหล็กให้เสร็จหมดเสียก่อนและเหลือช่องว่างไว้สำหรับแผ่นหลังคา โปร่งแสง  นำหลังคาโปร่งแสงมาวางเข้าที่ให้ด้านข้างทั้งสองซ้อนบนแผ่นเหล็ก
การยึดด้วยสกรู ควรคว้านรูสกรูก่อนทำการติดตั้ง(Pre-Drilled) เพื่อให้หลังคาโปร่งแสง สามารถยืดหรือหดตัวได้ โดยมีขนาดของรูเจาะดังนี้
ขนาดของรูสกรู(มม.) = 0.75xความยาวแผ่น(เมตร) + ขนาดแกนสกรู(มม.)

ตัวอย่าง
ถ้าแผ่นหลังคาโปร่งแสงยาว  10 เมตร  ขนาดแกนสกรู 4  (มม.)
ขนาดของรูสกรู = (0.75 x 10) + 4 = 11.5 มม.

การยึดแผ่นหลังคาโปร่งแสงทุกแบบจะต้องใส่สกรูเกลียวยึดทุกสันลอน โดยให้แกนสกรูอยู่กึ่งกลางรูสกรูที่เจาะไว้ก่อนและควรใส่แหวนยาง (Washer) ขนาด  32  มม. ด้วย เพื่อ ป้องกันการรั่วซึม
ถ้าต้องการต่อหลังคาโปร่งแสง รอยต่อจะต้องอยู่บนแป หรือ คร่าว ระยะต่อแผ่นอย่างน้อย 30 ซม. รอยต่อจะต้องติดโฟมเคลือบกาว(Lap Seal Tape) 2 แนว หรือยาด้วย กาวซิลโคนสีใส(Silicone Sealant) ชนิดไม่แข็งตัว 2 แนว
ข้อควรคำนึง ในการติดตั้งแผ่นใส, แผ่นโปร่งแสง

ข้อควรปฏิบัติ ในการติดตั้งแผ่นกระเบื้องโปร่งแสง
การติดตั้งหลังคาโปร่งแสงควรเริ่มที่สันจั่วหลังคาเสมอ จะสั้น กว่าแนวหลังคา หรือยาวจรดขอบสุดของหลังคาก็ได้แต่ควรเริ่มที่สันจั่ว เสมอ
เนื่องจากแผ่นครอบสันจั่วที่ครอบจะช่วยป้องกันการรั่วซึม ที่ปลายขอบด้านบนของแผ่นแสง
หลังคาโปร่งแสงจะต้องติดตั้งบนหลังคาเหล็กเสมอ เนื่องจากหลังคาโปร่งแสงมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าหลังคาเหล็ก และมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าหลังคาเหล็ก เมทัลชีท
การติดตั้งหลังคาโปร่งแสงและบานเกล็ดโปร่งแสงที่ด้านข้างของตัว อาคารจะช่วยให้ภายในอาคารสว่างมากขึ้น
ปริมาณการใช้หลังคาโปร่งแสงสำหรับอาคารโรงงานที่เหมาะสมโดย ทั่วไปควรมีประมาณไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด

ข้อควร หลีกเลี่ยง ในการติดตั้งแผ่นโปร่งแสงกับเหตุผลสนับสนุน
เนื่องจากหลังคาโปร่งแสงที่ดีจะกระจายแสงได้ทั่วถึง  ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นจะต้อง ติดตั้งแผ่นโปร่งแสงกระจายไปตาม จุดต่างๆ ที่ต้องการให้แสงส่องลงไปถึง เพราะการกระจ่ายแผ่นโปรงแสงไป หลายๆจุดจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดการรั่วซึมได้สูงจากรอย ซ้อนทับกันที่เพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิด การสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายในการต่อแผ่นมากขึ้นด้วย

หากกรณีต้องการทำการกระจายแผ่น ต้องทำการวางแผ่นโปร่งแสง บนแผ่นหลังคาเหล็ก เมทัลชีทเสมอ เพราะ แผ่นหลังคาโปร่งแสง มีการขยายตัว ของแผ่นสูงมากกว่าแผ่นหลังคาเหล็กถึง 2เท่า และหลีกเลี่ยงการเกิดการกดทับ ของแผ่นเมทัลชีทบนแผ่นกระเบื้องโปร่งแสง นอกจากนี้ต้องทำ การวาง แผ่นโปร่งแสง บนแผ่นหลังคาหล็ก ยังช่วยให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง แผ่นโปร่งแสงอีกด้วย

ในกรณีติดตั้งในสักษณะที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำไว้ข้างต้น  ก็จะทำให้เกิดการรั่ว ซึมง่าย และยากต่อการซ่อมแซม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง หรือหากไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ควรใช้กาวซิลิโคนสีใสชนิดไม่แข็งตัว ยาแนวต่อ 2 แนว เพื่อป้องกัน การรั่วซึมที่อาจจะเกิดขึ้นได้





ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com


ที่มาwww.แผ่นหลังคาเมทัลชีท.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น