วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

อุปกรณ์ติดตั้งหลังคาเมทัลชีท

อุปกรณ์ติดตั้งหลังคาเมทัลชีท

       สกรูยึดแผ่นหลังคาเหล็ก นิยมใช้สกรูหัวหกเหลี่ยมควร เลือกใช้สกรูยิงแผ่นหลังคาเหล็ก ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน 

1. หัวยิงสกรู หัวสว่านยิง ใช้ยิงสกรูเพื่อติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็ก 

2. หัวจับยึดสกรู ใช้จับสกรูหัวหกเหลี่ยม 

3. เชือก หรือ สายเอ็น ช่วยกำหนดแนวแผ่นหลังคาและแนวยิงสกรู 

4. ช็อก หรือ ดินสอขีดเขียนแนว ช่วยขีดเขียนกำหนดตำแหน่ง แนวแผ่นและแนว ยิง 

5. คีมคีบ ช่วยจับยึด จัดแนวแผ่นหลังคา ก่อนยิงแผ่นหลังคา 

6. กรรไกรตัดแผ่นเหล็ก ใช้ตัดแต่งส่วนเกินของหลังคาเหล็ก 

7. เครน สายพาน ลูกรอก ช่วยในการขนย้ายลำเลียงแผ่น



ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com
ที่มาwww.แผ่นหลังคาเหล็ก.com

การเลือกใช้สกรูยึดหลังคาเมทัลชีท

       การเลือกใช้สกรูยิงหลังคาเมทัลชีทนั้นควรเลือกใข้ชนิดพิเศษ สำหรับใช้ในงานติดตั้งหลังคาเมทัลชีท โดยเฉพาะ
  1. สกรูเกลียวปล่อย Self Drilling Screws เป็นสกรูที่เหมาะกับการยิงแผ่นหลังคาเหล็ก เมทัลชีท
  2. ควรเลือกใช้สกรูชนิดที่เคลือบกันสนิม เป็นเคลือบสังกะสี หรือ เคลือบกัลวาไนซ์ Galvanized Screws เพื่อป้องกันการเกิดสนิมที่ตัวสกรู
  3. สกรูยิงหลังคาเหล็กจะมี แหวนยางรองติดมาด้วยเพื่อป้องการการซึมรั่ว และ ความเสียหายที่ผิวหลังคาเหล็ก อันเกิดจากแรงกระแทกของการยิงสกรูติดแผ่นหลังคาเหล็ก
  4. ใช้สกรูตัวยาวยิงแผ่นหลังคาเหล็กที่สันลอนหลังคา สำหรับการติดตั้งหลังคาเหล็ก Metal Sheet Roof
  5. ใช้สกรูตัวสั้นยิงที่ท้องลอนของแผ่นหลังคาเหล็ก ในส่วนของการประยุกต์ใช้แผ่นหลังคาเหล็กติดตั้งผนังอาคาร Metal Sheet Wall & Panel
  6. ใช้สกรูขนาดพิเศษ ยิงแผ่นครอบ หรือ แฟลชชิ่ง  Flashing
  7. ใช้สกรูห้วสี เป็นสีเดียวกันกับสีของหลังคาเหล็ก เพื่อความเนียนสวย
  8. ความยาวของสกรู ต้องเลือกให้เหมาะสม กับความสูงของลอนหลังคา และ ความหนาของแป และวัสดุที่ใช้ทำแป เช่น สกรูสำหรับยิง แปไ้ม้ แปเหล็ก
  9. ความอ้วนผอมของสกรู หรือ ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลาง Diameter  ของสกรู ก็มีผลต่อการยิงแผ่น และยึดเกาำะแผ่น
  10. เบอร์สกรู จะเป็น รหัส หรือโค้ดที่จะช่วยบอกขนาดของสกรู ทั้งความยาว เส้นผ่าศูนย์กลาง ซึ่งผู้ใช้ควรสอบถาม หรือปรึกษา กับผู้ผลิดหรือจำหน่าย เนื่องจาก มีหลากหลายมาตรฐานในอุตสาหกรรม

ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com
ที่มาwww.แผ่นหลังคาเหล็ก.com

ชนิดของสกรูยึดแผ่นหลังคาเมทัลชีท

ชนิดของสกรูยึดแผ่นหลังคาเมทัลชีท


       ควรใช้สกรูสำหรับยิงหลังคาเหล็กเมทัลชีทที่ได้มาตรฐาน เคลือบผิวกันสนิมอย่างดี มีคุณสมบัติการทนทานกันสนิมยาวนานใกล้เคียงกันกับแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท ที่คุณเลือกใช้อยู่ ถ้าใช้สกรูที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสนิมสูงจะทำให้แผ่นหลังคามีอายุการใช้งานสั้นลง ชนิดและเบอร์ของสกรูยิงหลังคาเมทัลชีทที่นิยมใช้
สกรูยิงหลังคา ตัวยาว : Long Length Metal Sheet Screw
       สกรูตัวยาวใช้ยิงหรือยึดแผ่นหลังคาเหล็ก   ยิงสกรูที่  สันลอนหลังคาเหล็ก ติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็ก Metal  เข้ากับ โครงสร้างตัวอาคาร ที่แปหลังคา  เบอร์สกรูที่นิยมใช้ยิงสันลอนหลังคาเหล็กเมทัลชีทคือ
สกรูแปเหล็กเบอร์ 12-14×65 (สกรูยาว 65 มิลลิเมตร) 
สกรูแปเหล็กเบอร์ 12-14×55 (สกรูยาว 55 มิลลิเมตร)
สกรูแปเหล็กเบอร์ 12-14×48 (สกรูยาว 48 มิลลิเมตร)
สกรูแปไม้เบอร์ T17  (สกรูยาว 50 มิลลิเมตร)

สกรูยิงหลังคา ตัวสั้น :  Short Length Metal Sheet Screw
       ใช้สกรูตัวสั้นยิงที่ ท้องลอนของแผ่นหลังคาเหล็ก ยึดติด เข้ากับ แปของผนัง ในส่วนของการประยุกต์ใช้แผ่นหลังคาเหล็กติดตั้งเป็นผนังของตัวอาคาร Metal Sheet Wall & Panelสกรูเบอร์ 10-16×16 (สกรูยาว 16  มิลลิเมตร)

สกรูยึดแฟลชชิ่ง ขนาดอ้วนพิเศษ:Flashing Metal Sheet Screw
       ใช้สกรูขนาดพิเศษ ยิงแผ่นครอบ หรือ แฟลชชิ่ง  Flashing เข้ากับแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอน ใช้สกรูยิงแฟลชชิ่ง ในการช่วยยึดสองแผ่นให้ติดกัน เราเรียกว่า การหนีบแผ่น สกรูแฟลชชิ่งที่นิยมใช้ คือ
สกรูแผ่นครอบแฟลชชิ่งเบอร์ 12-14×22 (สกรูยาว 22  มิลลิเมตร)
สกรูแผ่นครอบแฟลชชิ่งเบอร์ 12-14×20 (สกรูยาว 20 มิลลิเมตร)

ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com
ที่มาwww.แผ่นหลังคาเหล็ก.com

วิธีติดตั้งหลังคาเมทัลชีท

หลักการติดตั้งหลังคาเมทัลชีท
แผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท แต่ละแผ่น จะซ้อนทับต่อกันไปตามแนวนอนตามความยาวของตัวอาคาร โดยจะปูจากจากด้านล่างสุด ชิดด้านจั่วด้านใดด้านหนึ่ง ไปจนจรด หรือ จบที่อีกด้านจั่วหนึ่ง ในการมุงหลังคาแบบการเรียงต่อด้านข้างในแนวนอน หรือแนวยาวของตัวอาคาร แผ่นหลังคาเหล็ก ที่วางถัดไปต่อจากแผ่นก่อนหน้านั้น จะปูทับข้างบนไปเรื่อยๆ (เราจะไม่ใช้วิธีวางสอดแผ่นถัดไปใต้แผ่นหลังคาเหล็กก่อนหน้า)
หากแผ่นหลังคาเหล็กไม่ได้มีความยาวพอ ตลอดแนวเอียงลาดของหลังคาจำเป็นต้องมีการต่อแผ่นให้ยาวออกไป เราก็ต้องมุงแนวใหม่ที่สูงขึ้นไปจากแนวเดิม เพื่อต่อแผ่นหลังคาเหล็กให้ยาวตลอดแนวลาดเอียงของหลังคา แนวใหม่ที่อยู่ด้านบนจะวางซ้อนทับไปบนแนวด้านล่างก่อนหน้า โดยการต่อแผ่นไปตามความยาวของแผ่นต้องต่อกัน บนบริเวณแปที่รองรับข้างล่าง เพื่อความแข็งแรง  โดยมีการต่อแผ่นไปตามแนวนอนหรือแนวยาวของตัวอาคาร โดยการซ้อนทับที่บริเวณสันลอน และ ยึดแผ่นหลังคาเหล็กด้วยสกรูที่บริเวณสันลอน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะคล้ายกับการเรียงแผ่นกระเบื้อง

ขั้นตอนการติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็ก

  1. เริ่มมุงหลังคาเหล็กกันเลย วางแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นแรกลงบนแปหลังคา นิยมเอาด้านข้างของหลังคาเหล็กที่เป็นด้านที่ โดยปรกติจะใช้ประกบซ้อนทับด้านบน ชิดด้านใดด้านหนึ่งของด้านจั่วของหลังคาทางตอนล่างที่ชายหลังคา (แนวด้านข้างของแผ่นด้านนี้จะไม่มีปีกแหงนขึ้น  บางท่าน เรียกด้านนี้ว่า ลอนตัวเมีย อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้สับสน ให้ยึดหลักว่าจะไม่เอาด้านที่เปิดแหงนรับน้ำอยู่ด้านบน)
  2. แผ่นหลังคาเหล็กแผ่นแรกนี้ควร ยื่นเลยออกมาจากข้างนอกหลังคาบ้านเล็กน้อยประมาณ  6-10 ซม. หรือพาดพ้นแปตัวท้ายที่อยู่ด้านล่างออกมา เพื่อปกป้องแปหลังคาไม่ให้โดนฝน
  3. เราจะใช้สกรูตัวยาวยิงเข้าที่แนวกลางของสันลอนหลังคา การยึดแผ่นหลังคาด้วยสกรู  จะยิงสกรูยึดหลังคาเหล็กบนสันลอน แบบยิงสัน เว้นสัน บริเวณบนแนวแป ตลอดแนวแผ่นหลังคาเหล็ก ทั้งนี้แนวสันลอนสุดท้ายด้านข้างนั้น ยังไม่ถูกยึดด้วยสกรู รอจนกว่าแผ่นถัดไปจะมาเรียงซ้อนทับบนสันลอนด้านข้างนี้ ให้ได้แนวเสียก่อน แล้วจึงจะถูกยึดตรึงสันลอนของทั้งสองแผ่นด้วยสกรู
  4. การวางแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นที่สอง จะวางถัดต่อไปจากแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นแรก ซึ่งแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นที่สองนี้จะทับไปบนแผ่นแรกหนึ่งสันลอน โดยการวางจะหันเอาสันลอนด้านข้างของแผ่นหลังคาแผ่นที่สอง (ในส่วนที่เป็นด้านที่จะใช้วางทับ ด้านนี้จะไม่มีส่วนของปีก แหงนแอ่นขึ้น กระทำในลักษณะเดียวกันกับการว่างแผ่นแรก) ประกบไปบนสันลอนด้านข้างสุดของแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นแรก
  5. ในกรณีที่แผ่นหลังคาเหล็กมีห้าสันลอน เราจะยิงแผ่นหลังคาเหล็กด้วยสกรูบริเวณสันหลังคา ที่แนวแรก(แนวที่1) แนวกลาง(แนวที่3) และ แนวสันสุดท้าย(แนวที่5)
  6. การมุงแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นที่สาม และแผ่นต่อๆไปก็ทำในลักษณะเดียวกันการปูแผ่นหลังคาเหล็กแผ่นที่สอง
  7. ในทุกๆระยะ 5 แผ่น หรือ ทุกระยะ 4-5 เมตร ควรทำการตรวจสอบแนวของการเรียงแผ่นหลังคาเหล็กว่าได้แนวหรือไม่ ทั้งนี้ช่างผู้ติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็ก อาจจะขึงแนวเชือก หรือ ใช้สายเมตรวัด แล้วใช้ดินสอ ขีดเขียนเพื่อกำหนดตำแหน่งและแนวการจัดเรียงแผ่นในแต่ละช่วง ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุงแผ่นโค้ง ช่างผู้ติดตั้งแผ่นหลังคาควรจะไล่เรียงแผ่นหลังคา ให้ได้แนวก่อนโดยอาจใช้ครีมช่วยจับยึดหรือ ล็อคตำแหน่งให้ดีก่อนการยิงแผ่นหลังคาเหล็ก เนื่องจากแผ่นหลังคาโค้งมีการบิดตัวสูง
  8. เมื่อมุงแผ่นหลังคาเหล็กต่อกันไปเรื่อยๆไปจนสุด ด้านจั่วอีกด้านหนึ่ง หากแผ่นหลังคาเหล็กยาวเกินออกไป ก็สามารถตัดแต่งส่วนเกินของแผ่นหลังคาเหล็กออกโดยใช้กรรไกรตัดเหล็ก
  9. หากมีการต่อแผ่นหลังคาเหล็กเพื่อไห้ยาวออกไปตามแนวลาดเอียง ก็จะมีการการปูหรือมุงแผ่นหลังคาเหล็ก ในแนวนอนที่เป็นแนวใหม่ในระดับสูงขึ้นไป การต่อแผ่นหลังคาเหล็กโดยการเริ่มปูหรือมุงแนวใหม่นี้ แผ่นหลังคาเหล็กจำเป็นต้องมีการซ้อนทับกันประมาณ 15-20 ซม แนวการต่อแผ่นหรือการซ้อนกับแผ่นหลังคาต้องต่ออยู่บนแนวแปหลังคา และจำเป็นต้องยึดหลังคาเหล็กในแนวต่อแผ่น ด้วยสกรูทุกสันลอน ตั้งแต่สันลอนแรกถึงสันลอนสุดท้าย  เพื่อป้องกันลมตี และการไหลย้อนกลับของน้ำฝน
  10. หลังจากที่มุงแผ่นหลังคาแล้ว ก็จะเหลือการปิดรอยต่อ การต่อมุม การหลบมุม หรือช่องว่างต่างๆด้วยการติดตั้งแผ่นครอบหรือ แผ่นแฟลชชิ่ง Flashing Metal Sheet เพื่อป้องกันน้ำฝน รั่วซึม เช่น แผ่นครอบจั่ว และครอบมุมและในบางครั้งก็ทำเพื่อความสวยงามเช่น กาติดแผ่นครอบข้างของแผ่นหลังคาเหล็กที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคาร

ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com
ที่มาwww.แผ่นหลังคาเหล็ก.com

เทคนิคการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท

เทคนิคการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท


การเรียงแผ่นหลังคา เรียงแผ่นในแนวนอน จะทำในลักษณะเดียวกันการเรียงกันของการปูแผ่นกระเบื้อง คือการต่อแผ่นที่บริเวณสันลอน และ การยิงแผ่นที่บริเวณสันลอนเช่นเดียวกันนั้นเอง
เรียงแผ่นในแนวตั้ง หรือแนวเอียงลาด แผ่นหลังคาแนวบนซ้อนทับอยู่บนแผ่นล่างเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปูต่อแนวแผ่นหลังคาเหล็กในส่วน ของหลังคาบ้าน หรือผนังบ้านก็ตาม


มุมลาดเอียงหลังคา: Angle มุมลาดเอียงน้อย ในกรณีไม่มีการต่อแผ่นหลังคา โดยทั่วไปมุมลาดเอียงหลังคา ต่ำสุดที่แนะนำคือ ตั้งแต่ 6 องศา ขึ้นไป มุมลาดเอียงมาก หากมีการต่อแผ่นหลังคา มุมลาดเอียงของหลังคาไม่ต่ำกว่า 10 องศา


การต่อแผ่นหลังคาตามยาว: Overlap การต่อแผ่นหลังคาไปตามแนวยาวของแผ่นหลังคา หรือแนวลาดเอียงของจั่วนั้น ควรซ้อนแ่ผ่นทับ Overlapping  บนแนวแป ไม่ควรต่อแผ่นในช่วงระหว่างแนวแป เพราะจะไม่แข็งแรง

มุมลาดเอียงน้อย: การต่อแผ่นหลังคา ควรมีการซ้อนทับแผ่น 20 -30 เซนติเมตร
มุมลาดเอียงมาก: หากมีการต่อแผ่นหลังคาควรมีการซ้อนทับแผ่น 15-20 เซนติเมตร
แผ่นหลังคาเหล็กในระดับบน   ต้องวางซ้อนทับบนแผ่นที่อยู่ในระดับล่างกว่าเสมอ
แผ่นหลังคาเหล็กในระดับล่าง  ต้องวางซ้อนทับอยู่ด้านล่างแผ่นที่อยู่ในระดับบนกว่าเสมอ
ใช้หลักการต่อแผ่นหลังคา โดยสกัดกั้น กันน้ำที่ไหลจากด้านบน ไม่ให้ไหลแซกซึมเข้าำไป ในช่วงต่อแผ่น  ซึ่งหลักการนี้ใช้ หลักการเดียวกันกับการปูหลังคากระเบื่องทั่วไปเช่นเดียวกัน
การปูแผ่นหลังคา้ต้องปูจากแนวล่างขึ้นบน แล้ว  ถอยร่นขึ้นไปด้านบนของหลังคา( ประหนึ่งว่าเดินถอยหลัง กรุณาใช้ความระมัดระวัง ระวังตก!)


แผ่นโค้ง Arc Roof/Curve Roof ควรสั่งดัดโค้งให้มีรัศมีให้ใก้ลเคียงกับแนวโค้งของโครงสร้า่งจริง  ให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายกับการติดตั้ง ทั้งนี้หากรัศมีของแผ่นโค้งมีขนาดใหญ่ (หลายเมตร) แนวโค้ง หรือ รัศมีโค้งของแผ่นหลังคาโค้งที่สั่งผลิต อาจจะเผื่อไว้ใหญ่กว่าระยะจริงเพียงเล็กน้อยได้  เมื่อเวลาติดตั้ง ก็สามารถใช้วิธีกดไล่แนวโค้งเพิ่มเติม เพื่อให้เข้ากับแนวโค้งของโครงสร้างที่หน้างานได้

กรณีทีีโครงสร้างมีรัศมีโค้งมากกว่า 35 เมตรขึ้นไป ช่างติดตั้งหลังคาเหล็กสามารถสั่งแผ่นตรง แทนการสั่งแผ่นโค้ง (ซึ่งแผ่นโค้งจะมี่ราคาที่สูงกว่า) แล้วนำแผ่นตรงไปปูติดตั้งหลังคาเหล็กโดยวิธีกดแผ่นตรง ให้โค้งแนบกับโครงสร้างของหลังคาเหล็กโค้งได้ เราเรียกการติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็กแบบนี้ว่า การติดตั้งแบบ สปั้ง: SPANK


ใช้แผ่นกระเบื่องโปร่งใสร่วมกับแผ่นหลังคาเหล็ก สามารถปูแผ่นกระเบื้องโปร่งใส หรือแผ่นหลังคาไฟเบอร์กลาส หรือแผ่นใส  ร่วมด้วยกับการมุงแผ่นหลังคาเหล็กได้ เพื่อเพิ่มแสงให้กับตัวอาคาร โดยต้องเลือกใช้กระเบื้องโปร่งใสที่มีแบบลอนเดียวกันกับหลังคาเหล็ก

ใช้ลูกหมุนระบายอากาศร่วมกับแผ่นหลังคาเหล็ก ช่นเดียวกันกับการมุงแผ่นกระเบื้องโปร่งใสร่วมกับแผ่นหลังคาเหล็ก คือต้องเลือกใช้ลูกหมุนที่มีลอนของแผ่นไฟเบอร์กลาสที่ฐานของลูกหมุนเป็นลอนเดียวกันกับแผ่นหลังคาเหล็กที่ใช้


ข้อมูลเพิ่มเติม www.kjnmetal.com
ที่มาwww.แผ่นหลังคาเหล็ก.com

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ประตูม้วนแบบหนา

ใบประตูม้วนหนา ใบประตูม้วนบาง ใช้แตกต่างอย่างไร article



       ลูกค้าหลายๆท่าน อาจจะสงสัยว่าทำไมใบประตูม้วนจึงความหนามากมายหลายขนาด ทั้งๆที่ประตูม้วนที่บ้านตัวเองมีความกว้างไม่ถึง 4.00 เมตร และลูกค้าหลายๆ ท่านอาจจะต้องการใบประตูม้วนที่หนาพิเศษเพราะต้องการประตูม้วนที่แข็งแรง ป้องกันโจรขโมยได้ เพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยในทรัพย์สินตัวเอง

       เนื่องจากประตูม้วนนั้นมีทั้งระบบมือดึง ระบบรอกโซ่และระบบไฟฟ้า แต่ละระบบมีความเหมาะสมในการใช้งานที่ต่างกัน ประตูม้วนระบบมือดึงนั้น ติดตั้งขึ้นเพื่อใช้สำหรับประตูม้วนที่กว้างไม่เกิน 4.00 เมตร ฉะนั้น ความหนาของใบประตูม้วนจึงใช้ใบประตูม้วนเบอร์ 22 หรือ เบอร์ 23 ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว  ในขณะเดียวกัน โรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ที่มีความต้องการใช้ประตูม้วนที่มีความกว้างมากๆ (อาจจะกว้างถึง 10-12 เมตร) ก็ต้องใช้ใบประตูม้วนที่มีความหนามากขึ้น เพราะถ้าหากใช้ใบประตูม้วนรุ่นบางๆ จะทำให้บานประตูดูแอ่นกลางได้ โดยที่ความกว้างของประตูม้วนที่สัมพันธ์กับความหนาประตูม้วนนั้นสามารถดูได้จากตารางดังนี้



ความหนา
ขนาด
ใบเบอร์23
ใบเบอร์ 22
ใบเบอร์ 22
(ลอนใหญ่)
ใบเบอร์ 20
(ลอนใหญ่)
ใบเบอร์ 19
(ลอนใหญ)
ใบเบอร์ 18
(ลอนใหญ่ หรือ จัมโบ้)
ใบเบอร์ 16
(จัมโบ้)
1.00 – 4.00 ม.
OK
OK





4.00 – 6.00 ม.

Ok
OK
OK
OK


6.00 – 8.00 ม.



OK
OK


8.00 – 12.00 ม





OK
OK


       พิจารณาจากตารางนี้แล้ว ลูกค้าหลายท่านอาจจะมีคำถามว่า หากต้องการทำประตูม้วนระบบมือดึง โดยใช้ใบประตูม้วนรุ่นลอนใหญ่นั้นทำได้หรือไม่ คำตอบคือ หากเป็นประตูม้วนบานเล็กๆ ก็อาจจะมีความเป็นไปได้เช่น ประตูม้วนเล็กๆที่มีความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร แต่ถ้าหากทำประตูม้วนระบบมือดึงบานใหญ่ๆโดยใช้ใบประตูม้วนรุ่นหนาๆ นั้น ไม่สามารถทำได้เนื่องจากสปริงไม่สามารถช่วยดึงประตูม้วนทั้งบานขึ้นไปได้  รวมทั้งเวลาที่ต้องการปิดประตูม้วนลงมาโดยใช้แรงคนดึง ก็จะไม่สามารถดึงลงมาได้


ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com
อ้างอิงจากhttp://www.chintawee.com/

เสากลางประตูม้วน

เสาแบ่งประตูม้วน (เสากลางประตูม้วน)


       ประตูม้วนจำนวนมีขนาดที่สูงและกว้างเกินกว่าความเป็นไปได้ที่จะทำประตูม้วนแบบบานเดียวเต็ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเสาแบ่งประตูม้วนคั่นเพื่อเฉลี่ยน้ำหนักบานลง ให้สามารถเปิด-ปิดประตูม้วนได้ อาจจะเป็นได้ทั้งประตูม้วนระบบมือดึง ประตูม้วนระบบรอกโซ่ หรือประตูม้วนระบบไฟฟ้า (ประตูม้วนระบบมอเตอร์ไฟฟ้า) โดยที่การทำเสาแบ่งคั่นประตูม้วนนั้น สามารถทำได้ 2 แบบคือ
1. เสาแบ่งประตูม้วนแบบถอดได้
2. เสาแบ่งประตูม้วนแบบเลื่อนเก็บ


       เสาแบ่งประตูม้วนแบบถอดได้นั้นเป็นเสาประตูม้วนแบบที่อยู่ด้านข้างแต่นำมาเชื่อมหันหลังเสาติดกัน และนำมาติดตั้งในขนาดที่ลูกค้าต้องการ อาจจะตรงกลาง อาจจะเป็นประตูม้วนบานเล็กขนาดเพียง 1.00 ม. หรือ 1.20 ม. ก็ได้ ตามแต่เจ้าของบ้านต้องการ หากเจ้าของบ้านต้องการตัวเลขมงคลในการตั้งเสาแบ่งประตูม้วนก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น ต้องการให้ประตูม้วนบานใหญ่มีขนาดกว้าง 2.88 ม. ก็ทำได้เช่นกันโดยต้องเฉลี่ยขนาดประตูม้วนตามความกว้างของประตูม้วนตามขนาดช่องบานที่สามารถติดตั้งได้
ส่วนเสาแบ่งประตูม้วนแบบเลื่อนเก็บนั้น ส่วนใหญ่จะทำกับประตูม้วนบานกว้างและสูงมาก เนื่องจากตัวเสาประตูม้วนนี้จะมีน้ำหนักมาก ไม่สามารถถอดออกและยกเก็บได้สะดวก เช่น ประตูม้วนระบบไฟฟ้าขนาดสูง 5.50 ม. เสาแบ่งประตูม้วนจะเป็นเสาขนาดลึก 7 ซม กว้าง 6 ซม น้ำหนักเสาแบ่งประตูม้วนนี้จะมีน้ำหนักมากจนไม่สะดวกที่จะถอดยกเก็บได้ ช่างประตูม้วนจะทำเสาแบ่งประตูม้วนแบบเลื่อนเก็บ โดยเลื่อนเก็บเสาประตูม้วนนี้ไปด้านใดด้านหนึ่งซึ่งกำหนดตั้งแต่ตอนติดตั้งบานประตูม้วน การติดตั้งประตูม้วนแบบมีเสาแบ่งเลื่อนเก็บนี้ ช่างประตูม้วนจะติดตั้งรางแขวนสำหรับเลื่อนเก็บเสาไว้ด้านบน เมื่อเปิดประตูม้วนทั้ง 2 ฝั่งขึ้นแล้ว จึงเลื่อนเสาเก็บไปด้านที่มีการติดตั้งรางแขวนเอาไว้ แต่ก็มีบางกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการติดตั้งประตูม้วนระบบมือดึงแต่ให้ทำเสาแบ่งแบบเลื่อนเก็บ เพราะว่าสะดวกในการใช้งาน เสาประตูม้วนที่ถอดเก็บออกมาไม่หาย (มักโดนขโมยเพราะเสาประตูม้วนเหล็ก สามารถนำไปขายของเก่าได้) แต่ราคาก็จะแพงกว่าแบบเสาแบ่งประตูม้วนแบบถอดเก็บ


ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com
อ้างอิงจาก http://www.chintawee.com/

การวัดขนาดประตูม้วนเบื้องต้น

การวัดขนาดประตูม้วน


       ท่านสามารถสั่งทำประตูม้วนกับทางเค เจ เอ็น เมทัลได้โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านนี้มาก่อนเลย โดยวิธีการวัดประตูม้วนขั้นเบื้องต้นนั้น ท่านจะต้องทำดังนี้ (ห้ามพลาดแม้แต่ครึ่งเซนติเมตร)
1. กว้างจากปูนชนกำแพงซ้ายมาขวา คือ ความกว้าง (วัดเป็นเซนติเมตร)
2. วัดจากพื้นล่างชนคานบน คือ ความสูง (วัดเป็นเซนติเมตร)

ท่านสามารถที่จะสั่งช่องลมได้ตามใช้ชอบ
ประตูม้วน มือดึง ความกว้างไม่ควรเกิน 4 เมตร ความสูงไม่ควรเกิน 3 เมตร แต่ถ้าท่านจะเพิ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถเพิ่มลูกปืนจานตลับได้เช่นกัน
 แต่กรณีที่เกินกว่านี้ ควรจะแบ่งช่องเล็กหรือแบ่งครึ่งตามแต่ความชอบของท่านหรืออาจจะไปใช้ระบบอื่นเช่น ระบบมอเตอร์ หรือ ระบบรอกสาวก็ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม  www.kjnmetal.com

อ้างอิงจาก http://www.as-shutter.com